Special Stories » “โซเด็กซ์โซ่” เปิดตัวโครงการลดขยะอาหาร “WasteWatch”

“โซเด็กซ์โซ่” เปิดตัวโครงการลดขยะอาหาร “WasteWatch”

29 ธันวาคม 2020
0

Newscurveonline.com : โซเด็กซ์โซ่” บริษัทผู้นำระดับโลกด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยการบริหารจัดการแบบครบวงจรจากประเทศฝรั่งเศส ผู้นำการบริการด้านอาหารระดับโลก รวมทั้งได้เปิดให้บริการในประเทศไทยมากกว่า 16 ปี ได้เปิดตัวโครงการ “WasteWatch” ที่มุ่งมั่นในการลดขยะอาหาร รวมทั้งช่วยสนับสนุนการขจัดความหิวโหยและช่วยลดภาวะโลกร้อน โดยตั้งเป้าหมายที่ชัดเจนในการลดจำนวนขยะอาหารและการสูญเสียอาหารระหว่างขั้นตอนการผลิตลงถึง 50% ภายในปี 2568 

โครงการ “WasteWatch” เป็นโครงการที่ “โซเด็กซ์โซ่” ทั่วโลก ได้ทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดกับบริษัท Leanpath กลุ่มผู้นำธุรกิจที่ได้มาตรฐานสูงสุดในการบริหารจัดการด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมระดับโลก รวมทั้งมุ่งมั่นในการลดขยะอาหารประจำวันในครัวโลก เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า ด้วยเทคโนโลยี และแอปพลิเคชันที่ทันสมัย โดยปัจจุบัน “โซเด็กซ์โซ่ ประเทศไทย” ได้เริ่มนำร่องโครงการ “WasteWatch” โดยนำไปบริหารจัดการให้กับกลุ่มลูกค้าในหน่วยงานสถานพยาบาลและโรงเรียนนานาชาติชั้นนำในเมืองไทยแล้ว 7 แห่ง ซึ่งนอกจากจะช่วยให้มีการลดปริมาณขยะอาหารในองค์กรของลูกค้าแล้ว ยังเป็นการช่วยสนับสนุนรัฐบาล ในการบริหารจัดการในโครงการ Food Waste Managent ที่มีจุดมุ่งหมายเดียวกันที่ต้องการบริการจัดการ เรื่องการสูญเสียอาหารและลดปริมาณขยะอาหารอย่างยั่งยืน

นายอาร์โนด์ เบียเลคกิ ประธานบริหาร “โซเด็กซ์โซ่ ประเทศไทย” กล่าวว่า ความหิวโหยและปรากฏการณ์ภาวะ โลกร้อนในวันนี้นับเป็นวิกฤติระดับโลกที่เราทุกคนกำลังเผชิญอยู่ภายใต้การเพิกเฉยต่อขยะอาหาร ที่มีปริมาณเพิ่มมากขึ้นในแต่ละวัน ดังนั้นในฐานะที่ “โซเด็กซ์โซ่” เป็นผู้นำการบริการด้านอาหารระดับโลก ซึ่งเราได้ตระหนักถึงปัญหาระดับโลกนี้มาตลอดเวลาและวันนี้เราได้เร่งปฎิบัติในการต่อสู้กับขยะอาหาร เพื่อประโยชน์ของมนุษยชาติที่กำลังอยู่ในท่ามกลางความหิวโหยทั่วโลก ด้วยการปรับใช้จากโครงการ “WasteWatch” อย่างรวดเร็วสำหรับการบริหารจัดการให้แก่ลูกค้าของ “โซเด็กซ์โซ่” ทั่วโลก ในขณะเดียวกันเรายังมุ่งมั่นในการเพิ่ม ขีดความสามารถให้ก้บลูกค้าและผู้บริโภคที่เราให้บริการ รวมทั้งติดตามขยะอาหารในสถานที่ที่เราให้บริการ ว่ามีมากน้อยเพียงใด และจะเผยแพร่ตัวเลขเหล่านี้ต่อสาธารณะเพื่อเป็นการกระตุ้นให้การทำงานของเรา มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดย “โซเด็กซ์โซ่” ได้มุ่งมั่นที่จะใช้โปรแกรมจากโครงการนี้เพื่อนำไปใช้ในการบริการจัดการ ให้กับลูกค้ารายอื่น ๆ ในอนาคต

ด้าน เชฟจิรโรจน์ นาวานุเคราะห์ (เชฟป็อบ) National Executive Chef “โซเด็กซ์โซ่ ประเทศไทย” กล่าวว่า การทำงานของโปรแกรมในโครงการ “WasteWatch” สามารถตอบโจทย์ช่วยเร่งการรณรงค์และจัดการ กับขยะอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ยังสามารถสนับสนุนและช่วยเหลือผู้ประกอบการ ในด้านเศรษฐกิจด้านการลดต้นทุน ด้านสิ่งแวดล้อมในการลดภาวะโลกร้อน ด้านสังคมเพื่อช่วยลดจำนวนผู้หิวโหยทั่วโลก และด้านกฎปฏิบัติในธุรกิจที่ช่วยให้ผู้ประกอบการมีแนวทางที่ถูกต้อง

เนื่องจากโครงการ “WasteWatch” เป็นแนวทางการบริการด้านอาหารแนวใหม่ ดังนั้น ทีมเชฟและนักโภชนาการ ผู้เชี่ยวชาญด้านการ บริหารจัดงานของ “โซเด็กซ์โซ่” จึงจำเป็นต้องผ่านการฝึกอบรมและมีการสนับสนุนให้คิดอย่างสร้างสรรค์ตามวิธีที่บริษัทฯ ได้วางแผนการทำงานไว้ และเสิร์ฟอาหารเพื่อลดขยะที่สามารถหลีกเลี่ยงได้  ซึ่งแนวทางการทำงานจาก “WasteWatch”  นี้จะช่วยป้องกันการสูญเสียอาหารโดยเฉลี่ย 50% ทีมงานของ “โซเด็กซ์โซ่” สามารถเก็บข้อมูลของขยะอาหารในแต่ละวัน แต่ละครัวได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย ด้วยข้อมูลเชิงลึกที่ชัดเจน ทำให้ทีมงานเกิดความเข้าใจ และสามารถนำไปปรับใช้การดำเนินงานและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ตามเป้าหมาย เพื่อช่วยลดขยะอาหาร ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นขยะอาหารที่เกิดในครัวหรือขยะอาหารจากผู้บริโภคเองก็ตาม

โซเด็กซ์โซ่ได้วางกลยุทธ์และการดำเนินงานของโครงการ “WasteWatch” ไว้ดังนี้

  • การส่งมอบเป้าหมายการลดขยะอาหารโดยการวัด การจัดการ และการควบคุมขยะอาหาร
  • การมีส่วนร่วมระหว่างเจ้าของธุรกิจและผู้บริโภคผ่านการรายงานข้อมูลของขยะอาหาร
  • การดำเนินงานมีประสิทธิภาพมากขึ้นเพราะพนักงานจะใช้เวลาน้อยลงในการจัดการกับขยะของเสีย
  • ผลกระทบเชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อมโดยการลดผลกระทบต่อน้ำ พลังงาน และสภาพภูมิอากาศ
  • ลดการซื้ออาหาร และทิ้งอาหารน้อยลง
  • ลดค่าใช้จ่ายในการกำจัดขยะ เพราะขยะอินทรีย์จะลดน้อยลง

จะเห็นได้ว่า การลดขยะอาหารนั้นสามารถช่วยกันสนับสนุนได้ทั้งจากผู้ผลิตอาหารและผู้บริโภคอาหาร และเพื่อ ช่วยลดความหิวโหยของเพื่อนมนูษย์ทั่วโลก ลองหันมาร่วมมือร่วมใจกันเริ่มลงมือตั้งแต่วันนี้เพื่อทำ ให้โลกของเราน่าอยู่ด้วยสภาพแวดล้อมที่เป็นมิตรต่อสิ่งมีชีวิตในโลกนี้ได้อย่างยั่งยืน